วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


กิจกรรมวาดภาพละบายสี+นิทาน

กิจกรรมวาดภาพละบายสี+นิทานตามหลักการไล่สี

วัสดุอุปกรณ์: 

1. สมุดวาดเขียน


2. สี 
3. ปากกาสีดำ

วัตถุประสงค์
1. เพื่ิอให้นักศึกษาได้รู้จักการทำงาน โดยอาศัยการคิดอย่างเป็นระบบ (system thinking) คือ จะต้องคิดให้ได้ว่างานนั้นมีกระบวนการหรือขั้นตอนอย่างไร ควรทำอะไรก่อน ทำอะไรหลัง ในแต่ละขั้นตอนของงานควรใช้เวลาแค่ไหนถึงจะเสร็จ 

กระบวนการทำงาน

1.ฝึกทักษะย่อย  : ฝึกเขียนตัวหนังสือเป็นแบบต่างๆ เช่น สามมิติ ด้วยปาก


2. ฝึกทึกษะการวาดรูปการ์ตูนด้วยปากกา



 
ฝึกการวาดรูปด้วยปากกาก่อนนะคร้าาเด็กๆ ^^



ขั้นตอนการทำงานจริง
1. เขียนตัวอักษร ตามที่ต้องการ พร้อมวาดรูปตกแต่ง









นิทานเรื่อง  ไก่โต้งหลงตัวเอง

...นานมาแล้ว ณ หมู่บ้านหนึ่งมีไก่โต้งตัวหนึ่ง มันมีความภูมิใจนักหนา ว่าทุกๆ เช้า
มันได้ทำหน้าที่ ที่สุดแสนจะพิเศษ คือโก่งคอขันด้วยเสียงอันไพเราะของมัน เพื่อให้พระอาทิตย์ขึ้น
แล้วทุกๆ คนก็จะได้ออกไปทำงาน อยู่มาวันหนึ่งเจ้าไก่โต้งเกิดเจ็บคอ ไม่รู้ว่าเป็นไข้หวัดนกหรืออย่างไร
ทำให้มันเป็นกังวลยิ่งนักจึงบ่นกับแม่วัวว่า "ฉันเจ็บคอมากเลย ฉันคงไม่สามารถส่งเสียงขัน
เพื่อให้พระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้าได้ พรุ่งนี้พระอาทิตย์คงไม่ขึ้นแน่ ฉันจะทำอย่างไรดี" แม่วัวได้ฟังดังนั้น
ก็หัวเราะด้วยเสียงอันดัง "เจ้าสำคัญตัวเองผิดแล้ว เจ้าไก่โต้งเอ๋ย แม้จะไม่มีเสียงขันของเจ้า พระอาทิตย์
ก็ยังคงขึ้นในทุกๆ เช้า ไม่เชื่อเจ้าคอยดูพรุ่งนี้ซิ" ครั้นแล้วอรุณรุ่ง เจ้าไก่โต้งไม่สามารถส่งเสียงขันได้
แต่พระอาทิตย์ก็ยังขึ้นมาเปล่งแสงสว่าง ให้แก่ทุกชิวิต ได้ดำเนินชีวิต เป็นปกติได้...........
   นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ทุกๆ คนนั้นสำคัญ แต่ไม่สำคัญถึงขั้นขาดไม่ได้ พึงระลึกว่า "ไม่มีเราเขาก็อยู่กันได้ ไม่มีเขาเราก็ยังอยู่ได้เช่นกันจ้า"  


การประเมินผลงานด้วยตนเอง

1. ให้คะแนนผลงานตัวเอง 
2. อาจารย์ผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินคะแนนที่เหมาะสม

การนำไปประยุกต์ใช้

1. หลักการคิด คือสามารถนำความรู้เรื่องการคิดอย่างเป็นระบบไปใช้ในการทำงานในชีวิตประจำวันได้ ทั้งด้านการเรียน การทำงานเดียวและการทำงานเป็นกลุ่ม  จะต้องคิดให้ได้ว่างานนั้นมีกระบวนการหรือขั้นตอนอย่างไร ควรทำอะไรก่อน ทำอะไรหลัง ในแต่ละขั้นตอนของงานควรใช้เวลาแค่ไหนถึงจะเสร็จ ควรมอบหมายงานให้กับใครรับผิดชอบ และหากเจ้าหน้าที่ไม่ว่างหรือไม่อยู่ ควรจะมอบหมายให้กับผู้ใดทำแทน เป็นต้น 
2. การสังเกตปรับปรุงแก้ไข คือ สามารถพิจารณางานของตนเองได้ว่าควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไนเพื่อให้งานออกมาดีขึ้นกว่าเดิม 

การนำไปใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้

--- สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ และการงานอาชีพ

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1. สร้างนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพได้
2. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้บุคคลอื่นที่สนใจได้
3. นำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้